เทคโนโลยีด้านการเงินกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เราได้เชิญคุณ Amborish Acharya รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีจาก Opn มาแชร์เทรนด์เทคโนโลยีด้านเพย์เมนต์ในมุมมองของนักพัฒนาโปรแกรมที่มีประสบการณ์ในวงการมาอย่างยาวนาน
คุณ Amborish Acharya เริ่มเข้าวงการฟินเทคในปี 2548 โดยทำงานในบริษัทสตาร์ทอัพในบังกาลอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารความเสี่ยงโดยใช้โมเดลทางสถิติและคณิตศาสตร์ขั้นสูง ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เขาได้สั่งสมประสบการณ์ในหลากหลายด้าน ทั้งออนไลน์แบงก์กิ้ง, โมบายแบงก์กิ้ง, NFC, การรับชำระเงินแบบฝังตัวเข้ากับระบบหลัก (Embedded Payment), บริการประมวลผลธุรกรรม (Acquiring), การออกบัตร (Issuing), และสินเชื่อ ตั้งแต่เริ่มทำงานที่ Opn คุณ Amborish ได้มีบทบาทสำคัญในโปรเจ็กต์ต่างๆ ทั้ง PayFac-as-a-Service, Acquiring-as-a-Service, Issuing-as-a-Service ไปจนถึงการพัฒนาระบบการรับชำระเงินให้รองรับจำนวนธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น (Scalability)
ต่อไปนี้เป็นคำถามสัมภาษณ์และคำตอบของคุณ Amborish เกี่ยวกับเทรนด์เทคโนโลยีในวงการเพย์เมต์และการปรับตัวของทีมนักพัฒนาตามเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
ผู้สัมภาษณ์: เทรนด์เทคโนโลยีที่กำลังมาแรงในวงการการชำระเงินมีอะไรบ้าง
Amborish: ก็มีเทรนด์ที่น่าจับตามองอยู่หลายอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเทรนด์เหล่านี้จะถูกขับเคลื่อนโดยพัฒนาการทางเทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค และกฎหมายหรือข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลงไป เทรนด์ที่ผมคิดว่าจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตนั้นมีดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีเทรนด์ที่สำคัญอื่นๆ อย่างเช่น การแชร์ข้อมูลระหว่างผู้ให้บริการทางการเงิน (Open Banking), การชำระเงินข้ามพรมแดน (Cross Border Payment), และการรับชำระเงินแบบฝังตัวเข้ากับระบบหลัก (Embedded Payment)
ผู้สัมภาษณ์: ในขณะนี้เทรนด์การพัฒนาโซลูชันแบบโมดูลาร์กำลังมาแรงในหลายธุรกิจ ในบริบทของวงการเพย์เมนต์ คุณจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยโมดูลาร์ว่าอย่างไร
Amborish: การใช้เทคโนโลยีโมดูลาร์ในการชำระเงินคือการพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ในระบบการชำระเงิน (หรือที่เรียกว่าโมดูล) ให้สามารถทำงานแยกกันต่างหากได้และนำไปใช้กับโมดูลอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น เหมือนกับการสร้างบล็อก LEGO ที่สามารถนำมาต่อกันเป็นบริการต่างๆ ได้ตามความต้องการของธุรกิจ วิธีนี้ช่วยให้โซลูชันการชำระเงินมีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้ และมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนของการใช้เทคโนโลยีโมดูลาร์คือการเปลี่ยนจากการพัฒนาโซลูชันแบบรวมกันหนึ่งเดียวเป็นมาเป็นแบบไมโครเซอร์วิส ซึ่งเป็นการแยกแอปพลิเคชันออกเป็นแต่ละฟังก์ชันที่สามารถทำงานแยกกันได้ ถ้านำเทคโนโลยีโมดูลาร์มาใช้ในระบบการชำระเงิน จะทำให้ระบบสามารถรองรับธุรกรรมได้มากขึ้น รวมถึงปรับเปลี่ยนให้ตอบรับความต้องการของธุรกิจที่เปลี่ยนไปได้อีกด้วย
ผู้สัมภาษณ์: ช่วยยกตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีโมดูลาร์มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การชำระเงินของเราหน่อยได้ไหม
Amborish: ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา Opn ได้เปลี่ยนกลยุทธ์การพัฒนามาเป็นแบบโมดูลาร์เพื่อช่วยให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ Adapter Pattern ในการออกแบบช่วยให้ทีมนักพัฒนาของเราเชื่อมต่อระบบกับธนาคารใหม่ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนระบบแบ็กเอนด์ตามข้อกำหนดของธนาคารแต่ละแห่งได้อีกด้วย นอกจากนี้ เรายังใช้เทคโนโลยีโมดูลาร์ในกระบวนการออนบอร์ดร้านค้าย่อยในโซลูชัน PayFac-as-a-Service ของเรา ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนขั้นตอนได้ง่ายและร่นระยะเวลาเมื่อเทียบกับการพัฒนาระบบใหม่ทั้งหมด
ข้อดีในการใช้เทคโนโลยีโมดูลาร์มีดังนี้
ผู้สัมภาษณ์: เรามีวิธีการอะไรบ้างในการช่วยให้ทีมนักพัฒนาตามทันเทคโนโลยีใหม่ๆ และเทรนด์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมเพย์เมนต์
Amborish: เราใช้กลยุทธ์หลายอย่างเพื่อให้ทีมนักพัฒนาได้อัปเดตความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ และเทรนด์ในอุตสาหกรรมเพย์เมนต์ โดยเราจะเน้นไปที่การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การปรับตัวอยู่เสมอ และการสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ทีม Scrum ก็จะมีเซสชันเทรนนิ่งของทีม ทีม QA มีการจัดเวิร์กช็อปอย่างสม่ำเสมอ และทีม Infrastructure ก็จะมีเซสชันเทรนนิ่งกับ AWS และบริษัทอื่นๆ นอกจากนี้ เรายังมีโครงการทดลองใช้แนวคิด Domain-Driven Design และการใช้เครื่องมือ AI ขั้นสูงอย่าง Bedrock ยิ่งไปกว่านั้น เรายังสนับสนุนให้พนักงานสอบใบรับรองต่างๆ เช่น AWS Solution Architect ซึ่งเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมของเรา รวมถึงเข้าร่วมการประชุมและงานสัมนาเกี่ยวกับเทรนด์เทคโนโลยีใหม่อีกด้วย
ผู้สัมภาษณ์: ทีมนักพัฒนาใช้แนวทางอะไรบ้างในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
Amborish: การส่งเสริมนวัตกรรมและประสิทธิภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องใช้แนวทางที่หลากหลายไปพร้อมๆ กัน ทั้งการส่งเสริมวิธีการทำงานร่วมกันที่เหมาะสม การสร้างวัฒนธรรมทีมที่ช่วยเหลือกัน รวมถึงการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางที่เราใช้ยังครอบคลุมถึงการใช้กรอบการทำงานอย่างเช่น Scrum ในการพัฒนาแบบแบ่งรอบ (Iterative Development) และการใช้ Kanban ในการจัดการกระบวนการทำงานเพื่อความต่อเนื่อง โดยเราจะเน้นไปที่การพัฒนา MVP เพื่อตรวจสอบแนวคิดและรับความคิดเห็นจากผู้ใช้ตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้ เรายังใช้เครื่องมือ IaC เช่น Terraform ในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้ทำงานแบบอัตโนมัติเพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างสม่ำเสมอและรองรับการขยายขนาดได้
ผู้สัมภาษณ์: ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมว่าตอนนี้ทางทีมนักพัฒนากำลังทำโปรเจ็กต์อะไรที่น่าสนใจอยู่บ้าง
Amborish: ตอนนี้ทีมของเรากำลังโฟกัสไปที่โปรเจ็กต์ Payment-Gateway-as-a-Service ซึ่งมีกำหนดการที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้ รวมถึงการปรับปรุงกระบวนการ Underwriting ให้เป็นอัตโนมัติและการปรับปรุงกระบวนการสร้างใบแจ้งยอด ส่วนทีมแพลตฟอร์มกำลังออกแบบระบบใหม่เพื่อเพิ่มความสามารถในการขยายระบบและลดการเกิดข้อขัดข้อง นอกจากนี้ เรากำลังทำ Proof of Concept (POC) สำหรับการใช้เครื่องมือ AI เช่น Co-Pilot ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ผู้สัมภาษณ์: มีอะไรอยากพูดส่งท้ายเกี่ยวกับบทบาทของคุณในฐานะรองประธานฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัทเพย์เมนต์หรือไม่ คุณคิดว่าวงการนี้มีอะไรที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ บ้าง
Amborish: จากประสบการณ์ของผมในอุตสาหกรรมเพย์เมนต์ สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญคือความซับซ้อนของอุตสาหกรรมนี้ เรามีหน้าที่ดูแลข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอย่างเช่นข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้า รวมถึงต้องปรับตัวตามพฤติกรรมของลูกค้าที่แตกต่างกันไป เราจึงต้องให้ความสำคัญกับทำความเข้าใจว่าลูกค้าใช้วิธีการชำระเงินต่างๆ อย่างไร ทั้งในรูปแบบดิจิทัลและเงินสด วิสัยทัศน์ของเราคือการเปิดประตูสู่ธุรกิจดิจิทัลสำหรับทุกคน ดังนั้น เราจึงพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงระบบเศรษฐกิจดิจิทัลได้มากขึ้น
ในฐานะรองประธานฝ่ายเทคโนโลยี ผมเชื่อว่าผมมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัลแบบเต็มตัว ทุกผลิตภัณฑ์ที่เราพัฒนาขึ้นมีจุดมุ่งหมายเหมือนกันคือการช่วยให้ผู้ใช้สามารถชำระเงินในโลกดิจิทัลได้ง่ายขึ้น และผมก็คิดว่าเราก็ทำมันได้ดีโดยเห็นได้จากการที่ผลิตภัณฑ์ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตประจำวันของผู้คนมากมาย ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ และผมก็อยากจะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ใน Opn ซึ่งผมมั่นใจว่าเราจะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อีกมากมายในอนาคต