Blog

เทคโนโลยีการประมวลผลธุรกรรมจะช่วยต่อยอดการเติบโตให้สถาบันการเงินได้อย่างไร?

19 กันยายน 2566

ปัจจุบันคนเอเชียหันมาเลือกใช้บริการดิจิทัลแบงก์กิ้งมากขึ้น ซึ่งจากผลการศึกษาของวีซ่าพบว่า ผู้บริโภคในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพฤติกรรมการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัล โดยจ่ายผ่านออนไลน์แบงก์กิ้ง (52%) และโมบายล์แบงก์กิ้ง (69%) อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

เทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสู่ระบบธนาคารและการชำระเงินแบบดิจิทัล ส่งผลให้ธนาคาร ร้านค้าและธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องหาทางจัดการธุรกรรมในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว ประหยัดต้นทุน และปลอดภัยสูงสุด

นอกจากนั้น ในรายงานสรุปเชิงนโยบายของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ฉบับล่าสุด เผยว่าปัจจัยสำคัญอย่างกระแสยุคโลกาภิวัตน์และเทรนด์การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ล้วนเป็นตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรมการชำระเงิน ทั้งในรูปแบบของเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในนวัตกรรมการชำระเงินที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ก็คือ เทคโนโลยีการประมวลผลธุรกรรม หรือ Acquiring-as-a-Service นั่นเอง

เทคโนโลยี Acquiring-as-a-Service คืออะไร?

เทคโนโลยีการประมวลผลธุรกรรม หรือ AaaS (Acquiring-as-a-Service) ช่วยให้ธนาคารและธุรกิจต่างๆ สามารถจัดหาทีมผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก เพื่อแบ่งเบาภาระงานด้านการพัฒนาและดูแลประสิทธิภาพบริการแก่ผู้รับบัตร (Acquiring) ของธนาคาร โดยนอกจากจะช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลาและทรัพยากรต่างๆ แล้ว ผู้ให้บริการเทคโนโลยี AaaS ยังมีบทบาทในการขับเคลื่อนให้ธนาคารเดินหน้าสร้างการเติบโตผ่านบริการ Acquiring ภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การยืนยันตัวตนลูกค้า (customer onboarding) การประมวลผลธุรกรรม (processing) การสรุปยอดเงิน (settlement) และการกระทบยอดธุรกรรม (reconciliation) เป็นต้น

ความท้าทายในการให้บริการ Acquiring ของธนาคาร

ธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม รวมถึงคู่ค้าในตลาดต่างประเทศของธนาคาร ต่างก็เผชิญกับปัญหาในการพัฒนาระบบรับชำระเงินให้พร้อมส่งมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่มของธนาคาร ทั้งในกลุ่มธุรกิจร้านค้าและกลุ่มบุคคลรายย่อย ดังนั้น เทคโนโลยี AaaS จึงมีความสำคัญต่อรูปแบบการให้บริการของธนาคารในอนาคต ด้วยเหตุผลหลักๆ ดังนี้:

เดิมทีผู้ให้บริการ Acquiring จะเป็นธนาคารเสียส่วนใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมา ต่างก็เผชิญความท้าทายในการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ ทั้งในกลุ่มธุรกิจร้านค้าและกลุ่มบุคคลรายย่อย เทคโนโลยี AaaS จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยของผู้ให้บริการ Acquiring ด้วยเหตุผลหลักๆ ดังนี้

  • เทคโนโลยีการชำระเงินในปัจจุบันยังขาดความยืดหยุ่น ท่ามกลางความคาดหวังที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรูปแบบความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า พาร์ทเนอร์ และหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล
  • จากที่บริษัท Capgemini เคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ภาพรวมผู้ให้บริการ Acquiring ในระดับโลกนั้นมีแค่บริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่รายที่ครองตลาดอยู่ สภาพการแข่งขันจึงค่อนข้างคงที่ และส่งผลให้ผู้ให้บริการ Acquiring จำนวนไม่น้อยเลือกยึดติดอยู่กับการใช้เทคโนโลยีแบบเดิมๆ
  • โซลูชันที่ช่วยแก้ปัญหาเชิงเทคนิคให้กับธนาคารและบริษัทฟินเทค ส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยข้อจำกัดการใช้งานที่เข้มงวด และรองรับเฉพาะความต้องการของธุรกิจเก่าแก่ที่อยู่มานานเท่านั้น

ท้ายที่สุดแล้ว ธนาคารยังต้องลงทุนและจัดการงานด้านเทคนิคมากมาย เพื่อจะได้พัฒนาฟีเจอร์และฟังก์ชันที่ตอบสนองความต้องการให้กับธุรกิจร้านค้าเพียงไม่กี่รายที่ใช้บริการ Acquiring และการประมวลผลธุรกรรม

Opn จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้บริการ Acquiring ของธนาคารได้อย่างไร?

แพลตฟอร์ม Acquiring-as-a-Service ของ Opn ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อจัดการกับปัญหาที่ธนาคารต้องเผชิญมาอย่างยาวนาน

1. จัดการทุกขั้นตอนในการให้บริการแก่ผู้รับบัตร

Opn ได้พลิกโฉมบริการ Acquiring ของธนาคารให้ตอบโจทย์ธุรกิจร้านค้าในยุคดิจิทัล เริ่มตั้งแต่กระบวนการรู้จักและพิสูจน์ทราบร้านค้า การป้องกันการทุจริต และการกระทบยอดเงิน

นอกจากนั้น Opn ยังพร้อมส่งมอบโซลูชันที่ปรับแต่งได้ตามโมเดลธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโมเดลสำหรับตลาดลูกค้ากลุ่มธุรกิจ (B2B) ตลาดลูกค้ากลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (B2C) และตลาดลูกค้าธุรกิจภาครัฐ (Business-to-government หรือ B2G) อีกด้วย

  • ช่วยดูแลร้านค้า: ตั้งแต่ขั้นตอนการรู้จักลูกค้า การรับประกันภัย ปรับแต่งการตั้งค่าบัญชี การจัดการป้องกันการทุจริต แดชบอร์ด บริการเสริมและการเปิดใช้งานต่างๆ
  • จัดการธุรกรรม: ด้วยเทคโนโลยีการแปลงข้อมูลเป็นโทเคน (Tokenization) กระบวนการพิสูจน์ตัวตน การป้องกันการทุจริต การวางแผนช่องทางและจัดการธุรกรรมทางการเงิน การอนุมัติวงเงิน การหักบัญชีและการสรุปยอดเงิน และการโอนเงินออก ฯลฯ
  • เติมเต็มระบบงานหลังบ้าน: ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้ง่ายขึ้น เช่น การกระทบยอดบัญชีแบบอัตโนมัติ การติดตามความเคลื่อนไหวบัญชีของร้านค้าตลอด 24 ชม. และการใช้ระบบจำลอง (sandbox) เพื่อช่วยนักพัฒนาสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างต่อเนื่อง
2. รวมทุกบริการด้านการธนาคารไว้ครบ

ผลิตภัณฑ์สำหรับธนาคารของ Opn Banking มีจุดเด่นในเรื่องของระบบที่สามารถแยกส่วน (โมดูลาร์) และปรับแต่งได้ตามต้องการ จึงถือเป็นโซลูชันที่เหมาะสำหรับธุรกิจร้านค้ารายใหญ่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ หรือ ISV (Independent Software Vendors) รวมถึงบริษัทสตาร์ทอัพฟินเทคต่างๆ โดยสามารถเลือกใช้งานแต่ละส่วน (component) แยกกัน หรือใช้งานร่วมกับบริการ Acquiring อื่นๆ ได้ ช่วยให้ธุรกิจปรับแต่งโซลูชันการชำระเงินของตนเองได้อย่างอิสระ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวยังรับประกันได้ว่าแพลตฟอร์มของ Opn จะสามารถตอบโจทย์ธุรกิจได้ทั้งปัจจุบันและในอนาคต

3. วางรากฐานสำหรับอนาคตของแพลตฟอร์ม

โซลูชันของ Opn ช่วยให้ธุรกิจพร้อมรับมือกับปัญหาเชิงเทคนิคที่ซับซ้อนและผันผวนอยู่ตลอดเวลาได้ นั่นหมายความว่า ฟีเจอร์ของ Opn สามารถรองรับทั้งรูปแบบการใช้งานที่จำเป็น หรือแม้กระทั่งโจทย์ความต้องการใหม่ๆ ที่ธุรกิจอาจไม่เคยพบเจอมาก่อน

  • สร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว: การปรับใช้เทคโนโลยีที่ถูกสร้างไว้ให้แล้ว แทนที่จะเสียเวลาพัฒนาขึ้นมาเองตั้งแต่ต้น ส่งผลให้แพลตฟอร์มของคุณเปิดตัวสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมที่จะนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ
  • พร้อมขยายสู่ตลาดโลก: โดยเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการเครือข่ายบัตร (card schemes) ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค รวมถึงมีช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย
  • เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้: ให้ธุรกิจสามารถกำหนดราคาที่เหมาะสม และต่อยอดการเติบโตได้อย่างคล่องตัว ด้วยระบบจัดการบัญชีและร้านค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

จากประสบการณ์ตลอดระยะเวลากว่าสิบปีที่ Opn ได้ส่งมอบบริการด้าน Acquiring เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับระบบรับชำระเงินของธนาคารในไทยและต่างประเทศ ด้วยเป้าหมายที่ต้องการสนับสนุนให้ร้านค้าและลูกค้าทุกคนก้าวสู่ความสำเร็จที่หวังไว้

ทำไมจึงควรเปลี่ยนมาใช้บริการ Acquiring ของ Opn?

จากตัวเลขคาดการณ์ของ McKinsey พบว่ายอดการชำระเงินทั่วโลกในปี 2562 มีสัดส่วนกว่า 50% มาจากตลาดในทวีปเอเชีย และในปี 2563 ธนาคารในภูมิภาคเอเชียมีสัดส่วนรายได้จากบริการด้านระบบรับชำระเงินคิดเป็น 44% ของยอดรายได้รวมทั้งหมด ดังนั้น สรุปได้ว่าเทคโนโลยี AaaS ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ธนาคารและธุรกิจสามารถต่อยอดการเติบโตจากเทรนด์ดังกล่าวได้

หากธุรกิจของคุณสนใจใช้งานเทคโนโลยี Acquiring-as-a-Service สามารถสอบถามทีมผู้เชี่ยวชาญของ Opn Payments ได้ที่ ↗ ติดต่อเรา