5 นาที

ทำธุรกิจออนไลน์ ควรเลือก payment gateway อย่างไร ให้ตอบโจทย์?

Omise

enter image description here

จริงๆ แล้วระบบรับชำระเงิน หรือ เพย์เมนต์เกตเวย์ (payment gateway) ที่เราเรียกกันติดปากไม่ใช่เทคโนโลยีเกิดใหม่ แต่มีมานานกว่า 20 ปีแล้ว

ในช่วงแรก เพย์เมนต์เกตเวย์ถูกใช้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซหรือแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ ที่มีฐานลูกค้าและยอดขายจำนวนมากต่อวัน แต่ด้วยกระแสอีคอมเมิร์ซที่เติบโตต่อเนื่องและมาแรง บวกกับสถานการณ์รอบตัวที่ผลักดันให้เราทุกคน ทั้งเจ้าของธุรกิจและผู้บริโภค ต้องปรับตัวมาซื้อขายกันทางออนไลน์มากขึ้น ยิ่งทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโตแบบก้าวกระโดดในปีที่ผ่านมา

การจับจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์กลายมาเป็นเรื่องใกล้ตัว และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไปแล้ว บทบาทความสำคัญของเพย์เมนต์เกตเวย์ที่มีต่อการทำธุรกิจออนไลน์จึงชัดเจนมากขึ้น และได้กลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่คนทำอีคอมเมิร์ซในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ มองข้ามไม่ได้เลย

ระบบรับชำระเงิน ทำหน้าที่อะไร?

อธิบายง่ายๆ เพย์เมนต์เกตเวย์คือเทคโนโลยีที่เป็นตัวกลางด้านการรับชำระเงิน ทำหน้าที่เชื่อมเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเข้ากับระบบชำระเงินรูปแบบต่างๆ ช่วยตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้น ป้องกันการทำทุจริต เพิ่มทั้ง ความสะดวกสบาย และ ความปลอดภัย ในการทำธุรกรรมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

enter image description here

ผู้ให้บริการมีใครบ้าง?

ในเบื้องต้น เราขอแบ่งเป็นผู้ให้บริการในตลาดเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ bank และ non-bank หรือก็คือ บริการโดยธนาคารกับบริการที่เป็นของบริษัทเอกชนรายอื่นๆ (อย่างเช่น โอมิเซะ) นั่นเอง

เลือกเพย์เมนต์เกตเวย์พิจารณาจากอะไร?

ผู้ให้บริการทั้ง 2 กลุ่มจะมีรูปแบบและข้อจำกัดซึ่งตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจที่ต่างกันไป โดยเจ้าของธุรกิจสามารถเลือกผู้ให้บริการที่เหมาะสมได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

อายุและขนาดธุรกิจ

ลองพิจารณาจากธุรกิจของเราเองก่อนว่าจดทะเบียนมานานแค่ไหนแล้ว และมีทุนจดทะเบียนหรือไม่

  • จำนวนปีที่จดทะเบียน

โดยทั่วไปธนาคารจะพิจารณาธุรกิจที่มีอายุจดทะเบียนอย่างน้อย 1-3 ปีขึ้นไป ส่วนที่เป็น non-bank จะไม่มีข้อกำหนดในส่วนนี้ ธุรกิจจดทะเบียนใหม่ก็สามารถสมัครใช้บริการได้

  • จำนวนทุนจดทะเบียน

ผู้ให้บริการ non-bank ส่วนมากจะรองรับธุรกิจทุกขนาด จึงไม่ได้จำกัดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ซึ่งต่างกับ bank ที่อาจมีข้อกำหนดในการคัดกรองธุรกิจที่สมัครใช้บริการ โดยจะพิจารณาจากเงินทุนจดทะเบียนบริษัท ซึ่งมักจะเริ่มต้นที่หลักล้านขึ้นไป

วิธีการเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อระบบรับชำระเงินเข้ากับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยนักพัฒนาระบบ (developer) เราจึงแนะนำให้เลือกผู้ให้บริการที่มีคู่มือการใช้งาน (developer documentation) ที่อธิบายวิธีติดตั้งและใช้งานแบบละเอียด และควรต้องมีระบบสำหรับทดสอบ (sandbox mode) เพื่อใช้ทดสอบว่าการติดตั้งสมบูรณ์เรียบร้อยดีหรือไม่ ก่อนเริ่มใช้งานจริงกับลูกค้า

บริการที่คาดหวัง

  • ความยืดหยุ่นของระบบ

ความยืดหยุ่นในการทำงานของระบบค่อนข้างสำคัญ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องภาพลักษณ์แบรนด์หรือธุรกิจที่ต้องการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งานเฉพาะเจาะจง เช่น ต้องการหน้าเช็คเอาท์ที่ดีไซน์กลมกลืนไปกับเว็บไซต์ หรือต้องการนำข้อมูลด้านการชำระเงินไปเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านที่ใช้งานอยู่แล้ว เป็นต้น แบบนี้ การเลือกเพย์เมนท์เกตเวย์ที่มีโค้ดหลังบ้านที่ยืดหยุ่น มีโครงสร้างระบบเป็นแบบ API-first จะช่วยให้นำไปปรับแต่งให้เข้ากับหน้าเว็บและรูปแบบธุรกิจได้ง่ายและหลากหลายมากกว่า

  • ความหลากหลายของช่องทางการชำระเงิน

ลองพิจารณาฐานลูกค้าของเราดูว่าเป็นคนกลุ่มไหน การรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิตอย่างเดียวเพียงพอแล้วหรือไม่? หรือต้องการเพิ่มความหลากหลาย ความสะดวกสบาย โดยการรับชำระผ่านบริการอื่นๆ อย่างพร้อมเพย์ อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง อีวอลเล็ทต่างๆ เช่น ทรูมันนี่วอลเล็ทและแรบบิท ไลน์ เพย์ หรือให้ลูกค้าสามารถจ่ายเงินสดที่เคาน์เตอร์บริการตามห้างได้

การมีช่องทางชำระเงินที่หลากหลาย ไม่เพียงแต่เพิ่มความสะดวกให้ผู้ซื้อ แต่ยังช่วยกระตุ้นยอดขายได้ เพราะเมื่อลูกค้าเห็นว่ามีช่องทางการจ่ายที่คุ้นชิน ใช้เป็นประจำอยู่แล้ว ก็ช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

  • การคุมประสบการณ์การชำระเงินให้ราบรื่น

ลูกค้าถึง 21% เลือกที่จะยกเลิกคำสั่งซื้อ หากขั้นตอนการจ่ายเงินยุ่งยากเกินไป ป้องกันการเสียยอดขายเหล่านี้ได้ด้วยระบบรับชำระเงินออนไลน์ ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถกดสั่งซื้อและชำระเงินได้เสร็จสรรพบนเว็บไซต์ของร้าน ไม่ต้องออกไปที่หน้าเว็บของธนาคาร

  • ทีมช่วยเหลือ

ควรเช็คให้ดีว่าผู้ให้บริการมีช่องทางการช่วยเหลือแบบไหนบ้าง มีทีมช่วยเหลือเฉพาะทางที่สามารถตอบคำถามเรื่องการใช้งานระบบ เรื่องทางเทคนิคเชิงลึกไหม รวมถึงความรวดเร็วในการให้บริการในกรณีเร่งด่วน จำเป็นต้องผ่านคอลเซ็นเตอร์กลางหรือไม่

เมื่อเข้าใจ และตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการเพย์เมนต์เกตเวย์ได้ง่ายขึ้น อีกคำถามที่มักจะตามมาก็คือ ควรเริ่มใช้ระบบรับชำระเงินออนไลน์ตอนไหน?

ถึงเวลาเปลี่ยนมาใช้ระบบรับชำระเงินออนไลน์แล้วหรือยัง?

ถ้าธุรกิจของคุณมีแผนการขยับขยาย หรือกำลังประสบปัญหาที่ตรงกับในเช็คลิสต์ด้านล่าง คุณอาจต้องมองหาเพย์เมนต์เกตเวย์แล้วล่ะ

  • ยอดขายพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง บริหารจัดการเงินได้ยาก

  • ลูกค้าบ่นจ่ายเงินยาก หรือ จ่ายเงินไม่สำเร็จบ่อย

  • ลูกค้าสอบถามถึงช่องทางชำระเงินอื่น เช่น การผ่อนชำระ หรือ อีวอลเล็ท

  • เริ่มมีลูกค้าจากต่างประเทศ หรือ อยากขยายฐานลูกค้า

  • โซลูชันพื้นฐานของธนาคาร ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ

ทั้งหมดนี้ คือ ภาพรวมของระบบชำระเงินออนไลน์ รวมถึงวิธีตรวจสอบความพร้อมของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเบื้องต้น แน่นอนว่าทั้งระบบรับชำระเงินโดยธนาคารและโดยบริษัทเอกชนมีคุณสมบัติและจุดแข็งที่ต่างกัน ท้ายที่สุด คนที่จะเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมได้ ก็คือคนที่เข้าใจธุรกิจดีที่สุด หรือ เจ้าของธุรกิจ นั่นเอง

หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเพย์เมนต์เกตเวย์ สอบถามกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรงได้ที่ support@omise.co หรือโทร. 02 252 8777 (ทุกวันระหว่างเวลา 08:00 - 20:00 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)



บทความอื่นๆ

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารดีๆ จากโอมิเซะ
ขอบคุณ!

ขอบคุณที่ลงทะเบียนกับโอมิเซะ

เว็ปไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อวิเคราะห์การใช้และปรับการใช้งานให้เหมาะกับท่าน เมื่อกดยอมรับหรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุกกี้ของเว็บไซต์ อ่านนโยบายความเป็นส่วนตัว